
ข่าวกีฬา ไขเบื้องหลังแทคติกปล่อยข่าวลือซื้อ-ขายนักเตะยุคใหม่ … ผลประโยชน์ตกที่ใคร ?
ข่าวกีฬา ช่วงรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา “กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์” ผู้รักษาประตูดีกรีทีมชาติไทย ตกเป็นข่าวลืออย่างหนักว่ากำลังย้ายกลับมาเฝ้าเสาในลีกไทยอีกครั้ง ก่อนเดดไลน์ตลาดซื้อขายผู้เล่นบ้านเราจะปิดตัวลง
กระแสข่าวของ กวินทร์ ทำเอาแฟนปรับโหมดตั้งรับแทบไม่ทัน เพราะมีรายงานออกมาจากสื่อว่า เขาเตรียมย้ายไปเป็นสมาชิกของ 2 สโมสรชั้นนำอย่าง การท่าเรือ เอฟซี และ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ในเวลาไล่เลี่ยกัน
สุดท้ายหนังเรื่องนี้มาหักมุมเป็นหนที่ 3 เพราะ โอเอช ลูเวิน ต้นสังกัดที่แท้จริงในเบลเยียมเรียกตัว กวินทร์ กลับไปใช้งาน
แม้บทสรุปอย่างเป็นทางการจะช่างแสนธรรมดา ก็แค่นักเตะหมดสัญญายืมตัว แล้วกลับไปรับใช้ทีมเดิม ตามสัญญาที่ยังเหลืออยู่ … แต่เคส กวินทร์ กลับเป็นตัวอย่างของข่าวลือที่สร้างแรงกระเพื่อมให้กับวงการลูกหนังไทย และทำให้แฟนบอลสนใจติดตามเป็นอย่างมาก
บางครั้งผู้อ่านอาจรู้สึกว่าตัวเองได้เกาะติดสถานการณ์แทบจะเรียลไทม์ ตามรายงานข่าวที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง หลาย ๆ สำนัก แต่คุณไม่อาจรู้เลยว่า เบื้องหลังการปั่นข่าวลือขึ้นมา อาจมีอะไรที่มากกว่านั้น และบางครั้งมันผ่านการกระบวนคิดทบทวนมาเป็นอย่างดี ก่อนจะกรองมาออกให้คุณได้อ่านกัน
อลงกต เดือนคล้อย ผู้เคยประสบการณ์ทำงานเป็นการ “นักข่าวฟุตบอลไทย” มาก่อน ขออาสาพาทุกท่านไปเจาะโลกแห่งข่าวลือที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ?
ต้นตอข่าวลือ
นับตั้งแต่ “ลีกฟุตบอลอาชีพยุคใหม่” อนุญาตให้สโมสรสามารถเปลี่ยนแปลงขุมกำลังได้ทุกครั้ง ยามตลาดซื้อขายนักเตะเปิดทำการ จนเป็นเรื่องปกติที่ทำกันทั่วโลก
“ข่าวลือ” (Rumour) เกี่ยวกับการโยกย้ายผู้เล่น กลายป็นสิ่งที่แฟนบอลให้ความสนใจ ดังนั้นหน้าที่ของสื่อมวลชน จึงต้องนำเสนอข้อมูลเหล่านั้น เพื่อตอบสนองความต้องการผู้คนจำนวนมากที่สนใจใคร่รู้ถึง “ดีลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต” ก่อนจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ขอบคุณข่าว : www.sanook.com
สนใจสมัครติดต่อ : ufabetmaps.com